วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552
โครงสร้างและการทำงานของระบบลำเลียงของพืช
โครงสร้างและการทำงานของระบบลำเลียงของพืชโครงสร้างและการทำงานของระบบลำเลียงของพืชประกอบด้วยระบบเนื้อเยื่อท่อลำเลียง (vascular tissue system) ซึ่งเนื้อเยื่อในระบบนี้จะเชื่อมต่อกันตลอดทั้งลำต้นพืช โดยทำหน้าที่ลำเลียงน้ำ สารอนินทรีย์ สารอินทรีย์ และสารละลายที่พืชต้องการนำไปใช้ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ภายในเซลล์ระบบเนื้อเยื่อท่อลำเลียงประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ (xylem) กับท่อลำเลียงอาหาร (phloem)
รูปแสดงภาคตัดขวางของลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่และใบเลี้ยงเดี่ยว รูปแสดงภาคตัดขวางของรากพืชใบเลี้ยงคู่และใบเลี้ยงเดี่ยว
ท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ (xylem) เป็นเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำและแร่ธาตุต่างๆ ทั้งสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ โดยท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุประกอบด้วยเซลล์ 4 ชนิด ดังนี้
1. เทรคีด (tracheid) เป็นเซลล์เดี่ยว มีรูปร่างเป็นทรงกระบอกยาว บริเวณปลายเซลล์แหลม เทรคีดทำหน้าที่เป็นท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุต่างๆ โดยจะลำเลียงน้ำและแร่ธาตุไปทางด้านข้างของลำต้นผ่านรูเล็กๆ (pit) เทรคีดมีผนังเซลล์ที่แข็งแรงจึงทำหน้าที่เป็นโครงสร้างค้ำจุนลำต้นพืช และผนังเซลล์มีลิกนิน (lignin) สะสมอยู่และมีรูเล็กๆ (pit) เพื่อทำให้ติดต่อกับเซลล์ข้างเคียงได้ เมื่อเซลล์เจริญเต็มที่จนกระทั่งตายไป ส่วนของไซโทพลาซึมและนิวเคลียสจะสลายไปด้วย ทำให้ส่วนตรงกลางของเซลล์เป็นช่องว่าง ส่วนของเทรคีดนี้พบมากในพืชชั้นต่ำ (vascular plant) เช่น เฟิน สนเกี๊ยะ เป็นต้น
2. เวสเซล (vessel) เป็นเซลล์ที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ แต่สั้นกว่าเทรคีด เป็นเซลล์เดี่ยวๆ ที่ปลายทั้งสองข้างของเซลล์มีลักษณะคล้ายคมของสิ่ว ที่บริเวณด้านข้างและปลายของเซลล์มีรูพรุนส่วนของเวสเซลนี้พบมากในพืชชั้นสูงหรือพืชมีดอก ทำหน้าที่เป็นท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุต่างๆ จากรากขึ้นไปยังลำต้นและใบเทรคีดและเวสเซลเป็นเซลล์ที่มีสารลิกนินมาเกาะที่ผนังเซลล์เป็นจุดๆ โดยมีความหนาต่างกัน ทำให้เซลล์มีลวดลายแตกต่าง กันออกไปหลายแบบ ตัวอย่างเช่น- annular thickening มีความหนาเป็นวงๆ คล้ายวงแหวน- spiral thickening มีความหนาเป็นเกลียวคล้ายบันไดเวียน- reticulate thickening มีความหนาเป็นจุดๆ ประสานกันไปมาไม่เป็นระเบียบคล้ายตาข่ายเล็กๆ- scalariform thickening มีความหนาเป็นชั้นคล้ายขั้นบันได- pitted thickening เป็นรูที่ผนังและเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ คล้ายขั้นบันได
3. ไซเล็มพาเรนไคมา (xylem parenchyma) มีรูปร่างเป็นทรงกระบอกหน้าตัดกลมรีหรือหน้าตัดหลายเหลี่ยม มีผนังเซลล์บางๆ เรียงตัวกันตามแนวลำต้นพืช เมื่อมีอายุมากขึ้นผนังเซลล์จะหนาขึ้นด้วย เนื่องจากมีสารลิกนิน (lignin) สะสมอยู่ และมีรูเล็กๆ (pit) เกิดขึ้นด้วย ไซเล็มพาเรนไคมาบางส่วนจะเรียงตัวกันตามแนวรัศมีของลำต้นพืช เพื่อทำหน้าที่ลำเลียงน้ำและแร่ธาตุต่างๆ ไปยังบริเวณด้านข้างของลำต้นพืช พาเรนไคมาทำหน้าที่สะสมอาหารประเภทแป้ง น้ำมัน และสารอินทรีย์อื่นๆ รวมทั้งทำหน้าที่ลำเลียงน้ำและแร่ธาตุต่างๆ ไปยังลำต้นและใบของพืช
4. ไซเล็มไฟเบอร์ (xylem fiber) เป็นเซลล์ที่มีรูปร่างยาว แต่สั้นกว่าไฟเบอร์ทั่วๆ ไป ตามปกติเซลล์มีลักษณะปลายแหลม มีผนังเซลล์หนากว่าไฟเบอร์ทั่วๆ ไป มีผนังกั้นเป็นห้องๆ ภายในเซลล์ ไซเล็มไฟเบอร์ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างค้ำจุนและให้ความแข็งแรงแก่ลำต้นพืช
รูปแสดงเนื้อเยื่อที่เป็นส่วนประกอบของท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ
ท่อลำเลียงอาหารท่อลำเลียงอาหาร (phloem) เป็นเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่ลำเลียงอาหารและสร้างความแข็งแรงให้แก่ลำต้นพืช โดยท่อลำเลียงอาหารประกอบด้วยเซลล์ 4 ชนิด ดังนี้
1. ซีพทิวบ์เมมเบอร์ (sieve tube member) เป็นเซลล์ที่มีรูปร่างเป็นทรงกระบอกยาว เป็นเซลล์ที่มีชีวิต ประกอบด้วย ช่องว่างภายในเซลล์ (vacuole) ขนาดใหญ่มาก เมื่อเซลล์เจริญเติบโตเต็มที่แล้วส่วนของนิวเคลียสจะสลายไปโดยที่เซลล์ยังมีชีวิตอยู่ ผนังเซลล์ของซีพทิวบ์เมมเบอร์มีเซลลูโลส (cellulose) สะสมอยู่เล็กน้อย ซีพทิวบ์เมมเบอร์ทำหน้าที่เป็นทางส่งผ่านของอาหารที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช โดยส่งผ่านอาหารไปยังส่วนต่างๆ ของลำต้นพืช
2. คอมพาเนียนเซลล์ (companion cell) เป็นเซลล์พิเศษที่มีต้นกำเนิดมาจากเซลล์แม่เซลล์เดียวกันกับซีพทิวบ์-เมมเบอร์ โดยเซลล์ต้นกำเนิด 1 เซลล์จะแบ่งตัวตามยาวได้เซลล์ 2 เซลล์ โดยเซลล์หนึ่งมีขนาดใหญ่ อีกเซลล์หนึ่งมีขนาดเล็ก เซลล์ขนาดใหญ่จะเจริญเติบโตไปเป็นซีพทิวบ์เมมเบอร์ ส่วนเซลล์ขนาดเล็กจะเจริญเติบโตไปเป็นคอมพาเนียนเซลล์ คอมพาเนียนเซลล์เป็นเซลล์ขนาดเล็กที่มีรูปร่างผอมยาว มีลักษณะเป็นเหลี่ยม ส่วนปลายแหลม เป็นเซลล์ที่มีชีวิต มีไซโทพลาซึมที่มีองค์ประกอบของสารเข้มข้นมาก มีเซลลูโลสสะสมอยู่ที่ผนังเซลล์เล็กน้อย และมีรูเล็กๆ เพื่อใช้เชื่อมต่อกับซีพทิวบ์เมมเบอร์คอมพาเนียนเซลล์ทำหน้าที่ช่วยเหลือซีพทิวบ์เมมเบอร์ให้ทำงานได้ดีขึ้นเมื่อเซลล์มีอายุมากขึ้น เนื่องจากเมื่อซีพทิวบ์เมมเบอร์มีอายุมากขึ้นนิวเคลียสจะสลายตัวไปทำให้ทำงานได้น้อยลง
3. โฟลเอ็มพาเรนไคมา (phloem parenchyma) เป็นเซลล์ที่มีชีวิต มีผนังเซลล์บาง มีรูเล็กๆ ที่ผนังเซลล์ โฟลเอ็มพาเรนไคมาทำหน้าที่สะสมอาหารที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช ลำเลียงอาหารไปยังส่วนต่างๆ ของพืช และเสริมความแข็งแรงให้กับท่อลำเลียงอาหาร4. โฟลเอ็มไฟเบอร์ (phloem fiber) มีลักษณะคล้ายกับไซเล็มไฟเบอร์ มีรูปร่างลักษณะยาว มีหน้าตัดกลมหรือรี โฟลเอ็มไฟเบอร์ทำหน้าที่ช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับท่อลำเลียงอาหาร และทำหน้าที่สะสมอาหารให้แก่พืช
รูปแสดงเนื้อเยื่อที่เป็นส่วนประกอบของท่อลำเลียงอาหาร
การทำงานของระบบการลำเลียงสารของพืชระบบลำเลียงของพืชมีหลักการทำงานอยู่ 2 ประการ คือ1. ลำเลียงน้ำและแร่ธาตุผ่านทางท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ (xylem) โดยลำเลียงจากรากขึ้นไปสู่ใบ เพื่อนำน้ำและแร่ธาตุไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง2. ลำเลียงอาหาร (น้ำตาลกลูโคส) ผ่านทางท่อลำเลียงอาหาร (phloem) โดยลำเลียงจากใบไปสู่ส่วนต่างๆ ของพืช เพื่อใช้ในการสร้างพลังงานของพืชการลำเลียงสารของพืชมีความเกี่ยวข้องกับกระบวนต่างๆ อีกหลายกระบวนการ ซึ่งต้องทำงานประสานกันเพื่อให้การลำเลียงสารของพืชเป็นไปตามเป้าหมายระบบลำเลียงของพืชเริ่มต้นที่ราก บริเวณขนราก (root hair) ซึ่งมีขนรากมากถึง 400 เส้นต่อพื้นที่ 1 ตารางมิลลิเมตร โดยขนรากจะดูดซึมน้ำโดยวิธีการที่เรียกว่า การออสโมซิส (osmosis) และวิธีการแพร่แบบอื่นๆ อีกหลายวิธี น้ำที่แพร่เข้ามาในพืชจะเคลื่อนที่ไปตามท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ (xylem) เพื่อลำเลียงต่อไปยังส่วนต่างๆ ของพืชเมื่อน้ำและแร่ธาตุต่างๆ เคลื่อนที่ไปตามท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุและลำเลียงไปจนถึงใบ ใบก็จะนำน้ำและแร่ธาตุนี้ไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง เมื่อกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงดำเนินไปเรื่อยๆ จนได้ผลิตภัณฑ์เป็นน้ำตาล น้ำตาลจะถูกลำเลียงผ่านทางท่อลำเลียงอาหาร (phloem) ไปตามส่วนต่างๆ เพื่อเป็นอาหารของพืช และลำเลียงน้ำตาลบางส่วนไปเก็บสะสมไว้ที่ใบ ราก และลำต้นรูปแสดงระบบการลำเลียงสารของพืช
การแพร่ (diffusion) เป็นการเคลื่อนที่ของสารจากบริเวณที่มีความเข้มข้นมากกว่าไปสู่บริเวณที่มีความเข้มข้นน้อยกว่า
การออสโมซิส (osmosis) เป็นการแพร่ของน้ำจากบริเวณที่มีน้ำมากกว่า (สารละลายเจือจาง) ไปสู่บริเวณที่มีน้ำน้อยกว่า (สารละลายเข้มข้น)การทำงานของระบบลำเลียงสารของพืชต้องใช้วิธีการแพร่หลายชนิด โดยมีท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ (xylem) และท่อลำเลียงอาหาร (phloem) เป็นเส้นทางในการลำเลียงสารไปยังลำต้น ใบ กิ่ง และก้านของพืช ที่มา http://images.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.maceducation.com/e-knowledge/2412212100/07-1.JPG&imgrefurl=http://www.maceducation.com/e-knowledge/2412212100/07.htm&usg=__XNwmzygbecZHUj02edON4ysrP2M=&h=312&w=354&sz=30&hl=th&start=2&tbnid=CCIYopQ0gPQFQM:&tbnh=107&tbnw=121&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%2597%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B3%2B(%2Bxylem%2B)%2B%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%2597%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%2B(%2Bphloem%2B)%26gbv%3D2%26hl%3Dth%26sa%3DG
เขียนโดย ครูจำเริญ สุวรรณประสิทธิ์ 0 ความคิดเห็น
การลำลียงน้ำ แร่ธาตุและอาหารของพืชในดินมีน้ำอยู่บ้างไม่มากก็น้อยน้ำในดินเหล่านี้จะมีแร่ธาตุต่างๆหลายชนิดที่พืชต้องการละลายอยู่ โดยปกติราก ( root ) เป็นส่วนของพืชที่อยู่ใกล้ชิดน้ำและแร่ธาตุต่างๆมากที่สุด รากพืชแตกออกเป็นรากแขนงเล็กๆจำนวนมากมาย รากนับว่าเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดของพืชในด้านการลำเลียง โดยเฉพาอย่างยิ่งบริเวณปลายราก ซึ่งเป็นบริเวณของขนราก ( root hair ) ซึ่งเป็นส่วนของเซลล์ผิวราก ( epidermis )ที่ยื่นออกไป เนื่องจากขนรากมีขนาดเล็กค่อนข้างยาวและมีจำนวนมากจึงเป็นการเพิ่มพื้นที่ผิวให้สัมผัสกับน้ำในดินได้มาก จึงถือว่ามีความเหมาะสมในการดูดน้ำและสารละลายเกลือแร่อย่างมีประสิทธภาพข้อสรุปแตกต่างระหว่างรากของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบลี้ยงคู่รากพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ( Monocotyledon ) มีวาสคิวลาร์บันเดิล ( Vascular bundle ) คือท่อน้ำ ( xylem ) และท่ออาหาร ( phloem ) เป็นกลุ่มๆอยู่ในแนวคนละรัศมีคล้ายกับรากของพืชใบเลี้ยงคู่แต่ตรงกลางรากคือ pithจะประกอบด้วยเซลล์พาเรนไคมาและมี ไซเลม,1. โครงสร้างที่ใช้ในการลำเลียงน้ำและแร่ธาตุรากของพืชสามารถดูดน้ำได้โดยอาศัย ขนราก (root hair) ซึ่งเป็นส่วนของเซลล์ผิวของรากที่ยื่นออกไปสัมผัสกับดิน เราจะพบขนรากจำนวนมากที่รอบ ๆ รากอ่อน ซึ่งจะอยู่เหนือปลายรากขึ้นมาเล็กน้อย ขนรากเหล่านี้จะช่วยให้รากมีพื้นที่สัมผัสกับน้ำได้มากขึ้น ดังนั้นยิ่งมีขนรากจำนวนมากเท่าใด พืชก็จะดูดน้ำได้มากขึ้นเท่านั้นน้ำในดินจะแพร่เข้าสู่ขนรากโดยกระบวนการออสโมซิส ส่วนแร่ธาตุในดินจะเข้าสู่ขนรากโดย วิธีการลำเลียงแบบแอกทีฟทรานสปอร์ต (active transport) ซึ่งต้องอาศัยพลังงานจากเซลล์ เมื่อขนรากดูดน้ำและแร่ธาตุเข้ามาแล้ว น้ำก็จะแพร่จากเซลล์ขนรากไปยังเซลล์ข้าง ๆ และเคลื่อนที่ผ่านเซลล์ของรากไปจนถึงท่อลำเลียงน้ำที่เรียกว่า ไซเลม (xylem) ที่อยู่ด้านในของราก ไซเลมนี้จะมีลักษณะเป็นท่อที่ต่อจากรากไปยังลำต้นของพืชและไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช ดังนั้นพืชจึงสามารถลำเลียงน้ำและแร่ธาตุไปยังส่วนต่าง ๆ โดยใช้ท่อไซเลมนั่นเองการลำเลียงน้ำขึ้นสู่ยอดพืชนักเรียนคงสงสัยว่าน้ำหรือสารละลายของแร่ธาตุจะมีแรงไหลขึ้นสู่ยอดต้นไม้ที่สูงมาก ๆ ได้อย่างไรนักวิทยาศาสตร์อธิบายว่า การที่น้ำจากรากจะขึ้นสู่ใบที่ยอดได้นั้นจะต้องใช้แรงที่ยอดของต้นไม้นั้นดึงน้ำขึ้นไปตลอดเวลา เพื่อให้น้ำในท่อลำเลียงน้ำ (ไซเลม) ภายในรากและภายในลำต้นไหลติดต่อกันตลอดโดยไม่ขาดสาย ท่อลำเลียงน้ำเล็ก ๆ หลายท่อนี้จะเริ่มจากรากต่อไปยังลำต้นและแตกสาขาไปยังกิ่ง ตลอดจนส่วนที่เป็นใบตามแนวของเส้นต่าง ๆ บนแผ่นใบที่เรามองเห็นนั่นเองใบพืชมีแรงดูดน้ำตลอดเวลา โดยเฉพาะในเวลากลางวัน ซึ่งมีขั้นตอนการทำงานตามลำดับดังนี้ปากใบจะเปิดในเวลากลางวันใบระเหยน้ำออกไปทางปากใบน้ำในเซลล์ของใบเหลือน้อยความเข้มข้นของสารละลายในเซลล์มากน้ำแพร่เข้าสู่เซลล์ของใบน้ำจากดินแพร่เข้าสู่รากและถูกส่งต่อผ่านลำต้นไปยังใบตลอดเวลาการคายน้ำของพืชในเวลากลางวันที่มีแสงแดด พืชจะต้องการน้ำมากและพืชจะดูดน้ำได้อย่างรวดเร็ว แต่ปริมาณน้ำที่พืชนำไปใช้ในเซลล์นั้นค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับน้ำที่พืชดูดเข้าไป น้ำที่เหลือส่วนมากพืชจะคายออกทางปากใบในรูปของไอน้ำ ทั้งนี้เพื่อรักษาอุณหภูมิของใบพืชไม่ให้ร้อนจัด นอกจากการคายน้ำเพื่อระบายความร้อนทางใบแล้ว การคายน้ำยังช่วยเร่งให้รากดูดน้ำขึ้นมาตลอดเวลา เมื่อรากพืชดูดน้ำตลอดเวลาแร่ธาตุก็จะปะปนมากับน้ำตลอดเวลาด้วย ใบก็จะมีโอกาสได้รับแร่ธาตุต่าง ๆ เพื่อนำไปสร้างสาอาหาร เช่น แป้ง โปรตีน และไขมัน ดังนั้นน้ำจึงทำหน้าที่เป็นผู้ขนส่งแร่ธาตุให้แก่ใบด้วยอัตราการคายน้ำของพืช ขึ้นอยู่กับ1) ชนิดของพืช พืชบางชนิดที่มีปากใบมาก ก็จะคายน้ำได้มาก2) แสงสว่าง ถ้าแสงสว่างเข้มมาก ปากใบของพืชจะเปิดกว้างกว่าแสงสว่างเข้มน้อย ทำให้พืชคายน้ำได้มาก3) อุณหภูมิของอากาศ ถ้าอุณหภูมิสูง พืชจะคายน้ำได้มาก4) ความชื้นของอากาศ ถ้าอากาศมีความชื้นน้อย พืชจะคายน้ำได้มาก ถ้าอากาศมีความชื้นมากพืชจะคายน้ำได้น้อย5) ลม ถ้าลมแรง พืชจะคายน้ำได้มาก แต่ถ้าลมแรงจนกลายเป็นลมพายุ ปากใบของพืชจะปิดทำให้พืชคายน้ำได้น้องลง6) ความกดดันของอากาศ ถ้าความกดดันของอากาศต่ำ พืชจะคายน้ำได้มาก7) ปริมาณน้ำในดิน ถ้ามีน้อย จะทำให้พืชคายน้ำน้อยไปด้วยการคายน้ำของพืชมีประโยชน์ต่อพืช ดังนี้1) ทำให้การลำเลียงน้ำและแร่ธาตุดีขึ้น เพราะเกิดแรงดึงน้ำจากส่วนรากขึ้นสู่ส่วนบน2) ช่วยลดอุณหภูมิภายในลำต้นและใบ3) ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิวใบ- พืชน้ำที่มีใบจมอยู่ใต้น้ำ เช่น สาหร่ายต่าง ๆ จะไม่มีปากใบ ต้นกระบองเพชรเปลี่ยนแปลงใบไปเป็นหนามเล็ก ๆ เพื่อลดอัตราการคายน้ำ เพราะเป็นพืชที่ขึ้นในที่แห้งแล้ง มีน้ำน้อย- เยื่อเซลโลเฟน เป็นเยื่อที่มีสมบัติคล้ายเนื้อเยื่อของรากพืช คือ มีสมบัติยอมให้อนุภาคของสารบางชนิดผ่านเท่านั้น- ส่วนใหญ่พืชจะคายน้ำในรูปของไอน้ำ เรียกว่า การคายน้ำ แต่ถ้าพืชคายน้ำออกมาเป็นหยดน้ำจะเรียกว่า กัตเตชั่น เช่น ที่ปลายใบของพืชประเภทหญ้าจะพบหยดน้ำที่บริเวณปลายใบกัตเตชัน (อังกฤษ: guttation) เป็นการเสียน้ำในรูปของหยดน้ำของพืช ซึ่งเกิดในกรณีที่ในอากาศอิ่มตัวด้วยน้ำ มีความชื้นสูง การคายน้ำเกิดขึ้นได้น้อย แต่การดูดน้ำของรากยังเป็นปกติ เกิดขึ้นโดยน้ำถูกดันผ่านไซเลมเข้าสู่เทรคีดที่เล็กที่สุดในใบ แล้วถูกดันออกไปสู่กลุ่มเซลล์พาเรนไคมาที่เรียกอีพิเทม (epithem) เข้าสู่ช่องว่างที่สะสมน้ำได้ (water cavity) แล้วจึงออกจากใบทางรูเปิดที่เรียกไฮดาโทด (hydathode) ของเหลวที่ถูกขับออกทางไฮดาโทดมีองค์ประกอบต่างกัน ตั้งแต่เป็นน้ำบริสุทธิ์จนมีสารละลายที่เป็นแร่ธาตุและน้ำตาลปนออกมา เมื่อน้ำระเหยไปหมดสารละลายเหล่านี้จะตกค้างอยู่ที่ใบซึ่งเป็นผลเสียต่อพืช โดยสารละลายที่เกิดจากกัตเตชันจะส่งเสริมการงอกของสปอร์ราที่เป็นเชื้อก่อโรคของพืชชนิดนั้น และทำให้เกิดสภาวะที่เหมาะสมที่จะทำให้แบคทีเรียและราที่ก่อโรคเข้าทำลายพืชที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/à¸à¸±à¸•à¹€à¸•à¸Šà¸±à¸™
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น